แนวคิดในการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนเกิดโรค
แนวคิดในการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนเกิดโรคเป็นที่ยอมรับกันดีในปัจจุบัน ทั้งแพทย์และคนไข้ย่อมไม่อยากเผชิญกับความเจ็บป่วย หนักจนเกินการรักษา
แนวคิดในการดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนเกิดโรคเป็นที่ยอมรับกันดีในปัจจุบัน ทั้งแพทย์และคนไข้ย่อมไม่อยากเผชิญกับความเจ็บป่วย หนักจนเกินการรักษาเราจึงพร้อมใจกันให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ ซึ่งแม้จะถือเป็นการตรวจคัดกรองก่อนเกิดโรค แต่ เมื่อพบความผิดปกติย่อมหมายความว่าขั้นตอนของการเกิดโรคนั้นมันดำเนินมาสักระยะหนึ่งแล้ว จึงแสดงออกมาทางผลเลือดและ เอกซเรย์ (X-Ray) ซึ่งในเชิงของการป้องกันก็ยังถือว่าล่าช้า ในปัจจุบัน เราจึงเน้นการดูแลสุขภาพเชิงรุกในระดับเซลล์ในแนวทางของ เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ ( Anti-aging and Regenerative Medicine )
ในชีวิตประจำวัน เราทุกคนต้องเผชิญกับความเครียดที่แทรกซึมผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากงาน ครอบครัว ความรัก เศรษฐกิจ ซึ่งเราสังเกตรู้ได้จากปัญหาที่เข้ามาสัมผัสจิตใจ แต่ยังมีความเครียดอีกประเภทหนึ่ง ที่แทรกซึมในทุก ๆ วันเช่นกัน แต่เราไม่รู้เลยว่ามันคือ ความเครียด นั่นคือ ความเครียดที่เกิดกับทุกเซลล์ของร่างกาย และไม่ได้มาในรูปแบบที่เราจะรู้ได้ แต่มากับอาหารการกิน การใช้ชีวิต การออกกำลังกาย การเจ็บป่วย เป็นต้น อาหารจำพวกแป้ง หวานจัด หรือไขมันสูง , มลภาวะในอากาศ , ความเครียด ,พักผ่อนไม่เพียงพอ, สูบบุหรี่ , ดื่มเหล้า เหล่านี้จัดเป็นสารอนุมูลอิสระ และก่อให้เกิดความเครียดระดับเซลล์ได้ เราเรียก ” ขบวนการอักเสบ ” ซึ่งเรามองไม่ เห็นด้วยตา และไม่มีอาการ แต่เมื่อมันเกิดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนเกิดความเสื่อมของเซลล์หรืออวัยวะสำคัญของร่างกายแล้ว เรา จะเริ่มมีอาการของความเสื่อม โดยแม้แต่ตัวเราก็ไม่รู้ว่านั่นหมายถึงความเสื่อม หรือที่เราเรียกกันว่า ” ความแก่ ” นั่นเอง
เรามักเข้าใจว่าความแก่ คือความเหี่ยวย่น หย่อนยาน ไม่สวย ไม่หล่อ ซึ่งถือว่าน่าหงุดหงิดแล้ว ความเสื่อมในร่างกายน่าหงุดหงิดกว่า เพราะนั่นหมายถึงศักยภาพในทุกด้านของเราลดลง ได้แก่
• นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท เมื่อตื่นมาทำงานก็มึน ๆ ขี้ลืม สมองไม่แล่น
• ปวดเมื่อยไหล่ หลัง ราวกับมีใครมานั่งทับ หรือปัญหา Office syndrome
• ผิวพรรณเหี่ยวเร็ว หย่อนคล้อยง่าย
• เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น
ปัจจุบัน จึงมีแนวทางการใช้ชีวิตต้านแก่ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อ ” แอนตี้สารอนุมูลอิสระ ” กัน ได้แก่ ลดเครียด ทำสมาธิ รู้ทัน จิตของเรา พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน รับประทานอาหารให้สมดุล ครบทั้ง 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร จำพวกแป้ง , ไขมันสูง , ของทอดน้ำมันดำ , สุรา หรือสูบบุหรี่
พญ. ธิศรา วีรสมัย หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย รพ.พญาไท 1