เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ มหัศจรรย์ “สารสกัดจากลำไย” พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ
เมื่อสารสกัดลำไย กลายเป็นสุดยอด เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
พบว่าสารสกัดลำไย สามารถเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพอย่างดีเยี่ยม
เมื่อสารสกัดลำไย กลายเป็นสุดยอด เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ
พบว่าสารสกัดลำไย สามารถเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพอย่างดีเยี่ยม ตั้งแต่ต้านมะเร็ง ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งต้านอนุมูลอิสระ จนถึงการแก้ปวดเมื่อย ช่วยนอนหลับนอนหลับและอีกมากมาย
ลำไยเป็นไม้ผลที่นับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ มีมูลค่าการส่งออกสูงปีละหลายพันล้านบาท นอกจากรับประทานผลสดหรือนำมาปรุงเป็นขนมหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ยังสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ด้วย เช่น ลำไยสกัด สำหรับคุณค่าทางโภชนาการ พบว่าในเนื้อผลของลำไยประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี กรดอะมิโน และน้ำตาลซึ่งทำให้ลำไยมีรสหวาน ได้แก่ กลูโคส ซูโครส และฟรุกโตส
แพทย์หญิงธิศรา วีรสมัย หัวหน้าศูนย์เวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1 บอกว่า คนในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเครียดผ่านเหตุการณ์ต่างๆมากมาย ซึ่งเราจะไม่สามารถมองเห็นอาการแบบนี้ได้ด้วยตาเปล่าและไม่มีอาการอะไร แต่จะสะสมไปเรื่อยๆหากเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดความเสื่อมของเซลล์หรืออวัยวะสำคัญของร่างกาย ทางการแพทย์เรียกว่า “ขบวนการอักเสบ” หรือก็คือ “ความแก่” ส่งผลให้ประสิทธิภาพร่างกายทุกด้านลดลง เช่น นอนไม่หลับ ขี้ลืม ปวดเมื่อย ผิวพรรณเหี่ยวหย่อน เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น
แพทย์แผนโบราณของชาวจีน ถือเป็นอีกศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับ ด้วยการนำสมุนไพรและผลไม้นานาชนิดมาทำเป็นยารักษาโรคให้ผู้คน และมีการนำ ลำไย มาสกัดและเป็นส่วนผสมในตัวยา เนื่องจาก ลำไย ที่ผ่านการสกัดมาแล้วจะมีรสหวาน มีสรรพคุณทางยา บำรุงม้าม หัวใจ เลือด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไหลเวียนโลหิต แก้อาการนอนไม่หลับ ทั้งยังช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย และบำรุงประสาทตาได้อีกด้วย
ลี ฉี่ เจิน (Li Shi Zhen) หมอผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรจีน ได้คิดตำรับยาสมุนไพรจีน เบน ฉาว กัง มู ซึ่งยังคงใช้อยู่ในวงการแพทย์ยุคปัจจุบัน และมีการระบุว่า ลำไย เป็นสมุนไพรที่ช่วยทำให้มีความเป็นหนุ่มสาวมากขึ้น สามารถปรับสมดุลในร่างกาย ช่วยให้ผ่อนคลายและทำให้คุณภาพการนอนดีขึ้น แต่ชาวจีนเชื่อว่า หากรับประทานลำไยสดในปริมาณมาก จะไม่ช่วยรักษาโรคโดยตรงแต่จะทำให้เกิดอาการร้อนใน
อย่างไรก็ตามได้มีการใช้เทคโนโลยีด้านอาหารมาพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพผ่านงานวิจัยทางการแพทย์ที่เรียกว่า โภชนเภสัช หรืออาหารที่ให้คุณประโยชน์ทางโภชนาการใกล้เคียงยา และ สารสกัดเข้มข้นจากลำไย กำลังกลายเป็นที่น่าสนใจ
นอกจากนี้ ยังมีการใช้เทคโนโลยีทางด้านอาหารมาพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพมากมาย โดยผ่านงานวิจัยทางการแพทย์ที่เรียกว่า “โภชนเภสัชหรืออาหารที่ให้คุณประโยชน์ทางโภชนาการใกล้เคียงยา” โดยหนึ่งในนั้นกำลังเป็นที่สนใจคือ “สารสกัดเข้มข้นจากลำไย” เนื่องจากเนื้อลำไยประกอบด้วยวิตามิน C, B12 แร่ธาตุมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ,ประสาท, ผิวพรรณ, ช่วยย่อยอาหาร, แก้อักเสบ, แก้ปัญหานอนไม่หลับตามตำราแพทย์แผนจีน แต่การรับประทานให้ได้ผลต้องกินเนื้อลำไยสดปริมาณมากถึง 40 – 50 กิโลกรัมต่อ 1 ครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องยาก ทางคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงทำการศึกษาวิจัยโดยนำลำไยมาสกัดเข้มข้นออกมาในรูปแบบเครื่องดื่มที่สามารถรับประทานได้ง่าย โดยพบคุณประโยชน์จากองค์ประกอบของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ 5 ไบโอแอคทีฟ (Bioactive compounds) ที่สำคัญ ซึ่งอยู่ในสารสกัดเข้มข้นจากลำไยนี้ ที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากภายในสู่ภายนอก ได้แก่
1.Gallic acid (แกลลิก แอซิด)
2.Ellagic acid (เอลลาจิก แอซิด)
3.Tannic acid (แทนนิก แอซิด)
4.GABA (กาบา)
5.Corilagin (คอริลาจิน)
อย่างไรก็ตาม จากการวิจัยพบว่า 5 คุณประโยชน์ที่อยู่ในสารสกัดเข้มข้นจากลำไย ช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ, ลดระดับความดันโลหิต แม้เป็นรูปแบบไซรัป (Syrup) ก็ไม่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลหรือไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของตับและไต, ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และทำให้นอนหลับได้ลึกขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อตื่นนอนมาทำงานก็รู้สึกสดชื่นไม่หลงๆ ลืมๆ
จะเห็นได้ว่าลำไย เป็นผลไม้ที่นอกเหนือจากคุณค่าในด้านเศรษฐกิจและอาหารแล้ว ยังมีคุณประโยชน์ในทางยาด้วย จากคุณสมบัติเด่นในการต้านอนุมูลอิสระ ลำไยจึงมีศักยภาพที่จะนำไปพัฒนาเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ และประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง และยาได้ โดยเฉพาะสารสกัดจากเมล็ดและเปลือกลำไยที่พบว่ามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและสารสำคัญหลายชนิดที่น่าสนใจ ซึ่งควรจะนำมาศึกษาเพิ่มเติมโดยเฉพาะการศึกษาในคน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัสดุที่เหลือทิ้งจากการบริโภคอีกด้วย
อ้างอิง
pharmacy.mahidol
chulabhorn research institute